เพราะยังคงมีการเลือกปฏิบัติ เราจึงต้องมีกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติ...แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนในเรื่องของ หลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และหลักความเสมอภาค (มาตรา 4) รวมถึงการไม่เอาเหตุแห่งความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด มาเลือกปฏิบัติต่อบุคคล (มาตรา 27)
แต่รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้มีกฎหมายลูกที่
กฎหมายนี้จึงเป็นเสมือนกฎหมายกลางที่ล้อตามรัฐธรรมนูญ ให้เกิดเป็นกฎหมายลูกที่เป็นรูปธรรมตามโครงสร้างของการมีกฎหมาย เพื่อช่วยทำให้ไม่มีการเลือกปฏิบัติอย่างแท้จริง นำไปสู่เป้าหมายที่จะไม่มีใครถูกเลือกปฏิบัติ และหากมีการเลือกปฏิบัติ คนเหล่านั้นก็ต้องได้รับการช่วยเหลือ เยียวยา และผู้กระทำก็ต้องมีความผิดตามที่กฎหมายกำหนดนั่นเอง
1. กฎหมายนี้มี 4 หมวด 62 มาตรา คุ้มครองการเลือกปฏิบัติทั้งทางตรง ทางอ้อม รวมถึงการคุกคาม (Harassment) สาระสำคัญคือ "ห้ามเลือกปฏิบัติต่อบุคคลด้วยเหตุเพราะความแตกต่าง"
2. มี 2 คณะกรรมการ 1 สภา
- คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติฯ : ออกนโยบายให้ข้อเสนอต่อหน่วยงาน เพื่อไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ
- คณะกรรมการคุ้มครองและช่วยเหลือบุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติ (คชป.)
: ทำหน้าที่กึ่งศาล รับเรื่องร้องเรียน ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครอง/ช่วยเหลือ
- สภาส่งเสริมความเท่าเทียมและขจัดการเลือกปฏิบัติ
: เป็นกลไกการมีส่วนร่วมโดยตัวแทนจากกลุ่มประชากรต่าง ๆ
3. คณะกรรมการฯ สามารถดำเนินเรื่องได้โดยไม่ต้องรอการร้องเรียน / การยื่นคำร้อง ไม่ต้องรอบนหอคอยพบเห็นกรณีเลือกปฏิบัติจัดการได้เลย และการร้องเรียนสามารถกระทำการได้ทั้งบุคคลผู้ถูกเลือกปฏิบัติเองหรือผู้แทน (สามี ภริยา บิดา มารดา ทายาท ญาติ ผู้ปกครอง ผู้ดำฉล ผู้พิทักษ์ หรืออาจขอให้องค์กรช่วยเหลือทางกฎหมายด้านการคุ้มครองสิทธิ)
4. ยกเลิกกฎหมาย นโยบาย หรือระเบียบใดที่เป็นการ “เลือกปฏิบัติ”
ตามมาตรา 7 ของร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติฯ ระบุว่า การเลือกปฏิบัติต่อบุคคลจะกระทำมิได้ รวมทั้งกรณี (2) การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานรัฐ เอกชน ฯลฯ ขณะที่มาตรา 9 ระบุว่า นิติกรรมทาแพ่ง กฎ และคำสั่งทางปกครองใดเป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล...ให้เป็นโมฆะและใช้บังคับมิได้
(ทั้งนี้ ไม่มีผลย้อนหลัง...แต่ยกตัวอย่าง หากกฎหมายนี้ผ่านการพิจารณาแล้ว กฎหมายอื่น เช่น พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีปี พ.ศ. 2539 หากคณะกรรมการวินิจฉัยว่าเป็นนโยบายที่เลือกปฏิบัติ สามารถเสนอความเห็นเพื่อแนะนำปรับปรุงหรือให้มีการยกเลิกได้เช่นกัน)
นอกจากนี้ทุกการกระทำโดยเลือกปฏิบัติล้วนมีผลตามมาโดยมีมีมาตรการบังคับทางปกครอง และโทษทางอาญา